หลักการซื้อสินค้า

Updated :

August 25, 2018

เมื่อเราได้กำหนดรหัสสินค้า หมวดสินค้า หรือรหัสเจ้าหนี้แล้วเราสามารถที่อัพเดทข้อมูลของสินค้านั้นๆได้ด้วยการ

  1. ซื้อสินค้าเข้า จะให้จำนวนสต็อกเพิ่มขึ้น
  2. ปรับปรุงสินค้านั้นๆ
    1. นำเข้า(+) จะทำให้จำนวนสต็อกเพิ่มขึ้น
    2. นำออก (-) จะทำให้จำนวนสต็อกลดลง
    3.  สินค้าส่วนมากจะไม่แนะนำให้ใช้ยกเว้นในการที่จะเริ่มใช้งานในช่วงแรกๆเท่านั้น
  3. การคืนสินค้าให้กับเจ้าหนี้ในที่นี้โปรแกรมจะใช้คำว่ารับคืน ซึ่งหมายถึงการรับคืนการซื้อ หรือการส่งคืนสินค้าให้กับเจ้าหนี้จะทำให้จำนวนสต็อกสินค้าลดลง

เรามาลองทำการซื้อสินค้าเข้าดู โดยไปที่เมนูหลักที่ชื่อซื้อสินค้า และเมนูย่อยที่ชื่อ ซื้อ-ปรับปรุง-รับคืนสินค้า

การซื้อสินค้าเข้า

1.เลือกปุ่มซื้อเพื่อทำการซื้อสินค้าเข้า

ขั้นตอนการทำงาน

2.กดปุ่มเพิ่ม หรือ F4 เพื่อทำการซื้อสินค้าเข้าโดยมีข้อมูลที่เราจำเป็นต้องป้อนซื้อ

  • เลขที่เอกสารซื้อ: (ถ้าไม่มีอาจจะต้องกำหนดขึ้นมาเช่น วันที่-เดือน-ปี-และตามด้วยตัวเลข)
  • วันที่: วันที่ๆซื้อสินค้าเข้า
  • รหัสเจ้าหนี้: สามารถระบุรหัสเจ้าหนี้ หรือ กด F12 เพื่อแสดง List เจ้าหนี้ ในกรณีที่ไม่เคยสร้างสามารถกำหนดรหัสใหม่จากที่นี้แล้วโปรแกรมจะถามให้สร้างจากตรงนี้ได้
  • หมายเหตุ: สามารถป้อนหมายเหตุที่เกี่ยวกับบิลซื้อนั้น
  • หลังจากนั้น ระบุรหัสสินค้าที่ต้องการซื้อ ราคา และจำนวน สามารถกด F12 เพื่อแสดง List ของสินค้าได้
  • กด F2 เพื่อทำการบันทึกรายการซื้อสินค้า
  • กดปุ่ม Del เพื่อทำการลบบรรทัดนั้นออก
  • ปุ่มยกเลิกเพื่อยกเลิกรายการที่กำลังทำงานอยู่
  • ในกรณีเรื่องภาษีท่านสามารถที่จะทำการเปลี่ยนค่าพื้นฐานได้ตลอดเวลา เช่นรวมหรือไม่รวมภาษี และอัตราภาษี ผู้ที่สามารถเปลี่ยนได้จะต้องเป็น Admin ของโปรแกรม อ่านเพิ่มเติม

3.เมื่อทำการจัดเก็บแล้วท่่านสามารถขอพิมพ์รายงานการซื้อออกที่เครื่องพิมพ์หรือจอภาพก็ได้

4.ในกรณีที่ไม่อยู่ในสถานะเพิ่ม ท่านสามารถที่จะกดปุ่ม PageUp PageDown เพื่อดูรายการก่อนหน้าที่ได้ทำไปแล้ว หรือหากท่านเป็น Admin ท่านสามารถที่จะทำการแก้ไขลบ หรือพิมพ์รายออกได้ โดยจะมีปุ่มเพิ่มขึ้นมาอัตโนมัติตามภาพ

  • หากต้องการแก้ไขก็กดที่ปุ่มแก้ไข หรือ F5
  • หากต้องการลบก็สามารถที่จะกดปุ่ม F6

Recent Posts